วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

Smartphone

smartphone

Smartphone คืออะไร

Smartphone คือโทรศัพท์มือถือยุกต์ใหม่ที่มีหน้าจอเป็นระบบสัมผัส (Touch Screen) ซึ่งช่วยให้ลดจำนวนปุ่มกดบนตัวเครื่องไปได้มาก ทำให้มีพื้นที่สำหรับดูข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือข้อความ รวมทั้งมัลติมีเดี่ย ปัจจุบันหน้าจอมีให้เลือกใช้งานอยู่หลายขนาด หลายราคา  




Smartphone มีความสามารถหลากหลาย โดยมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ ระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ Android, iOS และ Windows Phone ซึ่งระบบปฏิบัติการนั้นจะเป็นส่วนพื้นฐานที่ Smartphone ทุกเครื่องต้องมี เพื่อใช้ในการปิด เปิด เครื่อง และทำหน้าที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันได้ มีหลายสิ่งที่ทำให้ Smartphone เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สามารถถ่ายรูปได้, ส่ง Email ได้, ฟังเพลง ดูวีดีโอได้ และความสามารถอื่น ๆ อีกมากมาย

เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการให้กับผู้ใช้งานได้หลากหลาย โดยที่คุณสามารถเปิดเครื่องได้ตลอดเวลาทำให้สะดวกมากกว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Notebook ในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

สำหรับความสามารถของ Smartphone นั้นเกิดจากการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ที่มักเรียกกันติดปากว่า Apps ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการตกแต่งภาพคุณก็เพียงแค่ Download Apps สำหรับแต่งภาพติดตั้งลงบนโทรศัพท์ของคุณ จากนั้นก็เปิดใช้งาน Apps ที่คุณติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น

Smartphone นั้นมีส่วนประกอบเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, GPU, RAM, ROM, Wireless, Camera เพราะฉะนั้นความสามารถของ Smartphone จึงไม่ค่อยแตกต่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์มากนัก หากต้องการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ จะต้องเชื่อมต่อกับโครงข่าย 3G หรือ 4Gเพราะเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับ Smartphone นั่นเอง

หากคุณต้องการเป็นเจ้าของ Smartphone สักเครื่อง แนะนำว่าให้เลือกรุ่นที่มีสเปคสูง ๆ เนื่องจากระบบปฏิบัติการ Android นั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การที่คุณเลือกสเปคเครื่องสูงจะทำให้เราสามารถ Upgrade ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ๆ ได้นั่นเอง แต่ดูเหมือนว่าในอนาคตนั้นแนวคิดอาจจะเปลี่ยนแปลงไปเพราะจากกระแสข่าวหลาย ๆ แหล่งได้กล่าวถึง Smartphone ที่สามารถถอดประกอบเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่นอนว่าหากเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นจริง ในอนาคตเราคงได้เลือกใช้งาน Smartphone ได้อย่างอิสระมากขึ้น เช่น อยากได้ CPU เร็ว ๆ Ram เย๊อะ ๆ ก็สามารถสั่งเพิ่มได้

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

เครือข่ายสังคมออนไลน์

1. แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
                                ปัจจุบันการสื่อสารของมนุษย์ได้รับการพัฒนาให้สื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สื่อชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วม สร้าง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ คือ social media คำนี้คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า สื่อสังคม หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า สื่อออนไลน์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในทางเทคนิค สื่อสังคม จะหมายถึง โปรแกรมกลุ่มหนึ่งที่ทำงานโดยใช้พื้นฐานและเทคโนโลยีของเว็บตั้งแต่รุ่น ๒.๐ เช่น บีโบ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ วิกิพีเดีย ไฮไฟฟ์ และบล็อกต่าง ๆ ในทางธุรกิจเรียกสื่อสังคมว่า สื่อที่ผู้บริโภคสร้างขึ้น (consumer-generated media หรือ CGM) สำหรับกลุ่มบุคคลผู้ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคม ซึ่งนอกจากจะส่งข่าวสารข้อมูลแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังอาจทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันด้วย กลุ่มบุคคลที่ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคมดังกล่าว คือ social network ซึ่งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ บัญญัติศัพท์ social network ว่า เครือข่ายสังคม ในเครือข่ายสังคม กลุ่ม “เพื่อน” หรือ “ผู้ติดต่อกัน” จะต้องแนะนำตนเองอย่างสั้น ๆ โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมจะเปิดโอกาสให้กลุ่มเพื่อน ๆ วิพากษ์วิจารณ์กันเองได้ ส่งข้อความส่วนตัว และเข้าไปอ่านข้อความของเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้ ซอฟต์แวร์บางประเภทจะสามารถให้เพื่อน ๆ เพิ่มเสียงและภาพเคลื่อนไหวลงในประวัติของตนได้ด้วย นอกจากนี้ เพื่อนบางคนก็อาจจะสร้างโปรแกรมย่อย ๆ ขึ้นมาให้ใช้ร่วมกันได้ เช่น เล่นเกม ถามปัญหา หรือปรับแต่งรูปภาพ ทำให้บางคนมีผู้สมัครเข้ามาเป็นเพื่อนด้วยมากมาย(ราชบัณฑิตสถาน,2560)
เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networks) คือ เว็บไซต์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้คน สามารถการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล บนอินเทอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ (แคมบริด, 2560)
เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) คือ รูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกมโดยใช้บัตรเติมเงิน (วิกิพีเดีย,2560)
โดยสรุป เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) หมายถึง  เว็บไซต์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้คนสมารถสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการสื่อสารแบ่งปันข้อมูล เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น เช่น facebook
2. ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสังคมออนไลน์(Social Network) โดยมีผู้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ไว้ ดังนี้
รูปแบบของสื่อที่ช่วยให้คน สามารถสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล ด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์มือถือ (ราชบัณฑิตสถาน, 2560)
สื่อชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วม สร้าง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ (แคมบริด, 2560)
สื่อสังคม ( social media) หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สื่อเหล่านี้เป็นของบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน เช่น เฟซบุ๊ก ไฮไฟฟ์ ทวิตเตอร์ วิกิพีเดีย (วิกิพีเดีย,2560)
โดยสรุป Social media หมายถึง รูปแบบของสื่อชนิดหนึ่งที่ช่วยให้คน สามารถสื่อสารและแบ่งปันด้วยการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งยังเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เช่น Slideshare

                3. ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์มีหลายรูปแบบ ทั้งประเภทเครื่องมือ และการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ซึ่ง อาจแบ่งได้ดังนี้ (Williamson, Andy 2013: 9)
1. เครือข่ายสังคม (Social networking site) เป็นเว็บไซต์ที่บุคคลหรือ หน่วยงานสามารถสร้างข้อมูล และเปลี่ยนข้อมูล (สถานะของตน) เผยแพร่รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว โดยที่บุคคลอื่น
สามารถเข้ามาแสดงความชอบ หรือส่งต่อ หรือเผยแพร่ หรือ แสดงความเห็น โต้ตอบการ สนทนา หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ เช่น  Facebook,  Badoo, Google+,  Linkdin, Orkut
2. ไมโครบล็อก (Micro-blog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล หรือข้อความสั้น ในเรื่องที่สนใจเฉพาะด้าน รวมทั้งสามารถใช้เครื่องหมาย # (hashtag) เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้ เช่น Twitter, Blauk, Weibo, Tout, Tumblr
3. เว็บไซต์ที่ให้บริการแบ่งปันสื่อออนไลน์ (Video and photo sharing website) เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถฝาก หรือนําสื่อข้อมูล รูปภาพ วีดีโอ ขึ้นเว็บไซต์เพื่อแบ่งปัน แก่ผู้อื่น เช่น Flicker, Vimero, Youtube, Instagram, Pinteres
4. บล็อก ส่วนบุคคลและองค์กร (Personal and corporate blogs) เป็นเว็บไซต์ที่ผู้เขียนบันทึก เรื่องราวต่าง ๆ เสมือนเป็นบันทึกไดอารีออนไลน์สามารถเขียนในลักษณะไม่เป็นทางการ
และแก้ไขได้บ่อย ซึ่งบล็อกสามารถใช้ได้ทั้งส่วนบุคคล และกลุ่ม หรือองค์กร เช่น Blogger, WordPress, Bloggang,  Exteen
5. บล็อกที่มีสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเจ้าของเว็บไซต์ (Blogs hosted by media outlet)
เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ในการนำเสนอข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งมีความเป็นทางการน้อยกว่าสื่อสิ่งพิมพ์แต่มีรูปแบบ และความเป็นทางการมากกว่าบล็อก เช่น theguardian.com เจ้าของคือ หนังสือพิมพ์ The Gardian
6. วิกิและพื้นที่สาธารณะของกลุ่ม (Wikis and online collaborative space)
เป็นเว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ออนไลน์เพื่อรวบรวมข้อมูล และเอกสาร เช่น Wikipedia, Wikia
7. กลุ่มหรือพื้นที่แสดงความคิดเห็น (Forums, discussion board and group)
เป็นเว็บไซด์หรือกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแสดงความเห็นหรือเสนอแนะ มีทั้งที่ เป็นกลุ่มส่วนตัวและสาธารณะ เช่น Google Groups, Yahoo Groups, Pantip
8. เกมส์ออนไลน์ที่มีผู้เล่นหลายคน (Online multiplayer gaming platform) เป็นเว็บไซด์ที่เสนอรูปแบบการเล่นเกมส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเล่นได้คน เดียวหรือเป็นกลุ่ม
เช่น Second life, World of Warcraft
9. ข้อความสั้น (Instant messaging) การรับส่งข้อความสั้นจากมือถือ เช่น SMS (text messaging)
10. การแสดงตนว่าอยู่ ณ สถานที่ใด (Geo-spatial tagging) เป็นการแสดงตําแหน่งที่อยู่ พร้อมความเห็นและรูปภาพ ในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Foursquare
สื่อสังคมออนไลน์บางสื่อมีความสามารถและให้บริการการใช้มากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น Facebook เป็นทั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์และสามารถแบ่งปันรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวด้วย และแสดงตำแหน่งที่ตั้ง หรือ Twitter ที่เป็นทั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์และไมโครบล็อกและการแบ่งปันสถานะ เป็นต้น
                4. การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์
ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในงานด้านต่างๆอย่างแพร่หลาย  โดยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ดังนี้
จุลมณี สุระโยธิน (2554,148:160) ในการศึกษา ผลของการจัดการเรียนรู้ร่วมกันทางอินเทอร์เน็ตด้วยการเขียนสะท้อนคิดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ทำการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในฐานะเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ทั้งแบบประเมินทางสังคม แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
ธนิพร จุลศักดิ์ (2555) ได้ศึกษาการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี พบว่า รูปแบบของการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีนั้น มีการใช้ เฟสบุ๊ค แฟนเพจ (Facebook Fan Page) โดยมีการใช้มัลติมีเดียอย่างสมบูรณ์ทุกรูปแบบ โดยเป็นการกระจายไปยังเมนูต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมีการใช้ข้อความตัวอักษร มากที่สุด รองลงมาคือการใช้รูปภาพ วิดีโอ ลิงค์ดาวน์โหลด และการใช้เสียง และยังพบว่าแต่ละเมนูมีการนำเสนอมัลติมีเดียมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งเป๋นการผสมผสานเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ให้เข้าไปใช้งาน
วิลเลี่ยมสัน (2556) ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการดำเนินการของรัฐสภา ดังนี้
1. ใช้เพื่อการให้ข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แก่สาธารณชน รวมถึงการแลกเปลี่ยนและการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของรัฐสภา เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการตรากฎหมาย การติดตามกระทู้ถาม การประชุมกรรมาธิการกิจการ
พิเศษ การเยี่ยมชมรัฐสภา และรายงานการศึกษาที่น่าสนใจ
2. ใช้เพื่อให้ความรู้ เป็นแหล่งในการค้นคว้า ติดตาม เอกสารประกอบการอบรม และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของครูอาจารย์และนักเรียน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการศึกษาของรัฐสภา บทความ เอกสารต่าง ๆ ของรัฐสภา
3. ใช้เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางสาธารณะสำหรับการติดต่อกับรัฐสภา
4. ใช้ในการสร้างความร่วมมือ และติดต่อกับประชาชน เป็นช่องทางที่ได้ผลดีในการให้ข้อมูล และติดต่อกับประชาชน การส่งความคิดเห็น และสร้างความสนใจต่อกระบวนการนิติบัญญัติรวมถึงการให้คำปรึกษาโดยตรงแก่สาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัตินโยบาย และกลยุทธ์ในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติ
เกียรติศักดิ์ เสสสุวรรณ (2556) ได้นำสื่อสังคมออนไลน์ไปประยุกต์ใช้ ด้วยการพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะในการเรียนแบบภาระงานเป็นฐาน สาหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เป็นการการเรียนการสอนบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองบนเว็บแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เกิดจิตสาธารณะ โดยโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะในการเรียนแบบภาระงานเป็นฐาน ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย
1.องค์ประกอบของโมเดล มี 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของโมเดล
2) วัตถุประสงค์ของโมเดล 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการ
สอนแบบภาระงานเป็นฐาน 5) เนื้อหาและกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ 6) ระบบการเรียนการ
สอนบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์ 7) การวัดและการประเมินผล
2. ขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอน มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมก่อนการ
เรียนการสอน และขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. กิจกรรมประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบภาระงานเป็นฐาน มี 8
กิจกรรม ได้แก่ 1) การกำหนดภาระงาน 2) การตระหนักรู้ปัญหา 3) การค้นหาสาเหตุของปัญหา
4) การกำหนดปัญหา 5) การหาแนวทางแก้ไขปัญหา 6) การค้นหาข้อสรุปและเลือกวิธี 7) การ
ดาเนินการแก้ปัญหา 8) การสรุปและประเมินผล
4. เนื้อหาและกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ มี 5 กิจกรรม 1) กระบวนการ
เรียนรู้เนื้อหา การปฏิบัติกิจกรรมบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์ในกระบวนจัดการเรียนรู้แบบภาระงาน
เป็นฐาน 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยการใช้บทเรียนการพัฒนาจิต
สาธารณะผ่านรูปภาพ วิดีโอ เนื้อหา บทความ และการ์ตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจา ซึ่งการชี้แนะ
ทางวาจามีการสร้างระบบขั้นตอนการชี้แนะที่เหมาะสม กำหนดพฤติกรรมการชี้แนะอย่างชัดเจน
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรจิตสาธารณะ 3) กิจกรรมการค้นคว้าประเภทเนื้อหา รูปภาพ วิดีโอ
เน้นด้านปัญหาที่เกิดในสังคมและการแก้ปัญหาในสังคม ตามตัวชี้วัดจิตสาธารณะ 4) กิจกรรมการ
นาเสนอผลงาน การเผยแพร่ผลงาน การส่งงาน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5) กิจกรรมการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้เรื่องจิตสาธารณะผ่านสื่อสังคมออนไลน์
5. ระบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์ มี 7 ประเภท 1)
Blogger 2) Facebook 3) YouTube 4) WikiPedia 5) Skype 6) Multiply 7) Twitter
เครื่องมือมี 6 ชนิดดังนี้ 1) วิดีโอ 2) รูปภาพ 3) ห้องสนทนา 4) ส่งจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ 5)
การนาเสนองาน 6) การศึกษาค้นคว้า
6. การวัดและประเมินผล มี 3 ลักษณะ 1) การประเมินด้านกระบวนการ
(Process) 2) การประเมินความคืบหน้า (Progress) 3) การประเมินผลงาน (Product)
คเชนทร์ กองพิลา (2558 ) ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนการสอน เป็นการนำแหล่งข้อมูล ภาพ เสียง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในเครือข่ายสังคมมาเป็นสื่อ เครื่องมือ และใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางหรือช่องทางในการเรียนการสอนส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายตามความสนใจ ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ แต่ในปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีจำนวนมากมาย ดังนั้น เมื่อจะนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1. การร่วมมือ (Collaboration) เป็นการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยตามประเด็นหัวข้อที่นักเรียนสนใจ มีการกำหนดบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ โดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องร่วมมือกันในการเรียนรู้หรือทำกิจกรรมโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ เช่น Group (กลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ตามหัวข้อที่นักเรียนสนใจ) และ Member (การเป็นสมาชิกในกลุ่ม)
2. การสื่อสาร (Communication) เป็นการใช้ช่องทางของสื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลกเปลี่ยน สอบถาม ติดตาม แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในสถานที่และเวลาที่แตกต่างกัน เครื่องมือสื่อสารควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพการใช้งานของผู้เรียนและสอดคล้องกับลักษณะกิจกรรม เช่น Facebook จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) กระดานสนทนา (WebBoard) การพูดคุย(Chat)
3. บริบททางสังคม (Social Context) เป็นองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ ช่องทาง สถานที่ เวลา และสถานการณ์หรือเรื่องราวที่กำหนดให้ผู้เรียนเข้าไปร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่ของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีระบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยสมาชิกทุกคนในห้องต้องเข้าร่วมกลุ่มจึงจะสามารถทำกิจกรรมได้ และมีการเชื่อมโยงเพื่อการสื่อสารกับกลุ่มในเฟสบุ๊ค (Facebook)
4. เทคโนโลยี (Technologies) เป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายในรูปแบบของสื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ การสื่อสารในลักษณะของการโต้ตอบ เช่น Facebook , Blog , YouTube , E-mail (Disscusion , Web Board , Chat , Comment , Reply) แบบทดสอบออนไลน์ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ อื่นๆ
5. การแบ่งปัน (Sharing) หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการจัดการความรู้ ข้อมูล แหล่งข้อมูล ภาพ เสียง เนื้อหาผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิกในกลุ่มโครงงานและในเครือข่าย เช่น การแบ่งปันโดยใช้ Google Drive , Google Docs , Google Forms , Google Sheets , Google Presentation อื่นๆ
6. ความสัมพันธ์ (Connections) โดยการให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้งในส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มทุกคนอย่างสม่ำเสมอ โดยกิจกรรมจะมุ่งเน้นการนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมถึงการตั้งประเด็นการศึกษา คำถาม วัตถุประสงค์และหัวข้อนั้นๆ เช่น Group (กลุ่มตามหัวข้อโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และกลุ่มแต่ละห้องเรียน)
7. การใช้เครื่องมือร่วมกันสร้างเนื้อหา (Content co-creation Tools) โดยการที่สมาชิกในกลุ่ม นอกกลุ่มและในเครือข่ายมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ (Co-Creation) และนำเสนอข้อมูลเนื้อหา (Content) แสดงความคิดเห็นด้วยการโพสต์คอมเม้นต์ โต้ตอบกันได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนักเรียนจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ เช่น การแบ่งปัน (Sharing) การแสดงความคิดเห็น(Comment) การโต้ตอบ (Reply) การนำเสนอ (YouTube) การทำแผนที่ความคิด (Mind Map)
โดยสรุป การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันนั้น มีการประยุกต์ใช้ในหลายรูปแบบทั้ง ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย ใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในรูปแบบของสื่อการสอน แหล่งข้อมูลการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมการเรียน

วิธีการรับส่ง e-Mail

how2mail-2

การรับส่งอีเมล์

ความหมายของอีเมล์
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E—mail) อีเมล์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความ ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง ปัจจุบันอีเมล์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการอินเทอร์เน็ตที่ผู้มีคนนิยมใช้มากที่สุด เพราะสามารถติดต่อรับส่ง ข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
1. ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name ซึ่งเราจะใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กรก็ได้
2. เครื่องหมาย @ (at sign) เราอ่านว่า “แอท”
3. โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้าง ถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
4. รหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้าส่วน .th หมายถึงThailandอยู่ในประเทศไทย หลังจากที่เรามี e-mail address เป็นของตัวเองแล้ว การส่ง mail นั้นไม่มีอะไรยากเย็น เพียงเรามี e-mail address ของคนที่เราต้องการจะส่ง mail ไปหา เท่านี้ก็ถือว่าเราทำสำเร็จไปภารกิจไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้วเมื่อเรา login เข้าไปแล้วให้เลือก menu send mail เมื่อคลิกเข้าไปจะพบแบบฟอร์มให้กรอกช่องแรกให้ใส่ e-mail address ของผู้ที่เราต้องการส่งข้อความไปถึงส่วน subject ก็เป็นหัวข้อของ จ.ม.ที่เราต้องการส่งไป ซึ่งในช่องนี้เราจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ทางที่ดีเราควรจะใส่เพื่อให้ผู้รับจดหมายทราบว่า เรื่องที่เราส่งมาเป็น เรื่องอะไร เร่งด่วนแค่ไหน ต่อมาคือช่อง cc ช่องนี้นั้นหมายถึง เราต้องการส่งสำเนาจดหมายนี้ให้ใครบ้าง ให้ใส่ e-mail address ลงไป หากมีมากให้ใช้เครื่องหมาย , คั่นแต่ละ e-mail address ส่วนในช่อง Bcc นั้น ก็หมายถึงเราต้องการส่งสำเนาให้ใครบ้างเช่นกันแต่จะแตกต่างกับ cc ตรงที่ผู้รับจะมองไม่เห็นว่าเราส่งสำเนาให้ใครบ้างในขณะที่ CC นั้นผู้ที่รับเมล์จะสามารถรับทราบว่าเราส่ง copy ไปให้ใครบ้าง จากนั้นเราก็สามารถพิมพ์เนื้อความลงในช่องว่างด้านล่างได้ตามพอใจ เมื่อเสร็จแล้วคลิกปุ่ม send ซึ่งจะอยู่ไม่ด้านล่างก็ด้านบนของจอ รอสักครู่ก็เป็นอันเรียบร้อย แต่ถ้าหากคอมฯ ของคุณปรากฏหน้าต่างให้ยืนยันการส่งก็ให้คลิก OK ไป เท่านี้ เรียบร้อย

วิธีการส่งอีเมล์

1. คลิกที่ข้อความ rotananta@phrakruangputhorn.com
2. จะเข้ามาที่หน้าต่าง New Message
3. พิมพ์ข้อความที่กรอบใหญ่ด้านล่าง
4. และถ้าต้องการแนบรูปส่งเข้ามาด้วยให้เข้าไปที่ เมนู Insert แล้วเลือกคำสั่ง File Attachmentแล้วเข้าไปเลือกรูปที่จะส่ง ให้ดับเบิ้ลคลิกที่รูป
5. เสร็จแล้วจะกลับมาที่หน้าต่าง New Message กดคำสั่ง Sen โปรแกรมก็จะส่งเข้ามาที่ phrakruangputhorn.comเป็นอันเสร็จสิ้นในการส่งอีเมล์
การใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (E-mail) จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับทำการรับ-ส่งอีเมล์ (E-mail) ซึ่งมีให้เลือกใช้งานอยู่มากมาลหลายโปรแกรมก็ทำหน้าที่ในการรับ-ส่งอีเมล์
(E-mail) กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว แต่บางโปรแกรมก็มีความสามารถในการใช้งานกับอีเมล์ (E-mail) ระบบอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบการติดต่อหรือโพรโทคอล(Protocol)ระหว่างโปรแกรมรับ-ส่งอีเมล์ (E-mail)นั้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการรับ-ส่งอีเมล์ (Mail server) ว่าจะติดต่อกันในรูปแบบใด ถ้าเป็นการรับ-ส่งอีเมล์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้วโดยส่วนมากในการรับเมล์จะใช้โพรโทคอล POP 3 (Post Office Protocol version 3 ) หรือ IMAP 4 (Internet Message Access Protocol version 4) ส่วนในการส่งเมล์จะใช้โพรโทคอล SMTP (Simple Mail Tramsfer Protocol)
การรับ – ส่งอีเมล์ไปยังเครื่อง Mail Server จถะกระทำไปพร้อม ๆ กัน คือ เป็นการแลกเปลี่ยนอีเมล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับเครื่องที่เป็น Mail Server นั่นเอง โดยจะเริ่มจากการส่งอีเมล์ที่อยู่ใน Outbox ออกไปก่อน จากนั้นจึงจะเป็นการตรวจสอบว่า มีอีเมล์มาถึงเราหรือไม่ ถ้ามีก็จะรับเข้ามาไว่ที่โฟลเดอร ์Inbox ให้ด้วย 1. เมื่อพร้อมที่จะรับและส่งอีเมล์กับ Mail Server บนอินเทอร์เน็ตให้คลิกทีปุ่ม Send/Receive บนแถบเครื่องมือ หรือคลิกที่เมนู Tool>Snd and Receive โดยจะมีตัวเลือกดังต่อไปนี้
– Send and Receive All คือ ให้ทำการรับและส่งอีเมล์ทั้งหมด
– Receive All คือ เป็นการเลือกที่จะรับอีเมล์เพียงอย่างเดียวและยังไม่ส่งอีเมล์ที่ค้างในโฟลเดอร์ Outbox ออกไป
– Send All คือ เป็นการเลือกส่งอีเมล์เพียงอย่างเดียว โดยยังไม่ต้องการรับอีเมล์ใหม่เข้ามาเก็บไว้ในโฟลเดอร์ Inbox ถ้ายังไม่ได้ทำการเขื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในขณะนั้นปรากฎไดอะล็อกบ็อกซ์ให้เลือกหมุนเบอร์โทรศัพท์เข้าหาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) แต่ถ้ากำหนดไว้แล้วโปรแกรมจะทำการหมุนโทรศัพท์อัติโนมัติและจะมีการทำงาน รับ-ส่งอีเมล์ได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว
2. จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Outlook Express แสดงความคืบหน้าในการทำงานซึ่งอาจคลิกปุ่ม Hide เพื่อซ่อนไว้ ปุ่ม Stop เพื่อหยุดการรับ-ส่งอีเมล์ หรือปุ่ม Details เพื่อดูรายละเอียดการทำงานในแต่ละขั้นไ

Protocol

Protocol คืออะไร
     โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
โปรโตคอลช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบ ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้  คือข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยว กับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ตัวอย่างของโปรโตคอล
1. โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
2. โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP
3. โปรโตคอล SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTP หรือ File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ Internet Control Message Protocolเป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ยังมี Protocal อื่นๆ ที่เกี่ยวกับ IOT - Internet of things  ลองดูได้ตามลิงค์

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ

ประเภทของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

   1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้

องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)

    2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็
 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

    3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์
ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

     การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

    1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์
ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN

องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

    2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

    3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูง
นี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem
ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps
และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ

องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

    4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูง
ในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย

องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม

1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

ประเภท ISP

ISP คืออะไร
        ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP ) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ราย ดังตัวอย่างในตารางต่อไปนี้ 
ประเภท
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ชื่อเครือข่าย
เชิงพาณิชย์ (Commercial)ชมะนันท์เวิล์ดเน็ตCMN
เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ตKSC
ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย)Reach (TH)
จัสมินอินเทอร์เน็ตJI-Net
ซีเอส ล็อกซอินโฟCS Loxinfo
ดาต้าลายไทยDataline
ฟาร์อิสท์ อินเทอร์เน็ตFar East
รอยเน็ท อินเทอร์เน็ตRoy-Net
แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต (เวิลด์เน็ท)Pacific Internet
อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ISSP
สามารถอินโฟเน็ตSamart
อินเทอร์เน็ตประเทศไทยInternet Thailand
อี่-ซี่ เน็ตE-Z Net
เอเชีย อินโฟเน็ท (ทรู อินเทอร์เน็ต)Asia InfoNet
เอ-เน็ตA-Net
ไอเดียเน็ตIdeaNet
ไออีซี อินเทอร์เน็ตAsia Access
บริษัท กสท โทรคมนาคมCAT
สถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial)เครือข่ายไทยสารThaiSarn
เครือข่ายคนไทยKhonthai
เครือข่ายพับเน็ตPubNet
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารICT
เครือข่ายยูนิเน็ตUniNet
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐGITS

ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ต

ประวัติอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่าย เดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามา ในเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)
สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมาย ของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายประวัติความเป็นมา - อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
- ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง
และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก